เกี่ยวกับเรา

ความเป็นมา

ภาคีเครือข่าย SynBio Consortium ถูกก่อตั้งขึ้นโดยสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (สนอ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ตามโมเดลเศรษฐกิจ บีซีจี มาพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ด้วยความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพขึ้นสูง หรือ Synthetic Biology Technology (SynBio) จึงก่อตั้ง SynBio Consortium ขึ้นในประเทศไทย โดยมี 4 ภาคีเครือข่ายนำร่อง ได้แก่ 

  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (สนอ.) 
  • สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) 
  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) 
  • บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน)

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการประกาศลงนามความร่วมมือของภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์แห่งประเทศไทย (Thailand Synthetic Biology Consortium) จาก17 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่

  1. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
  2. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
  3. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยการสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (สนอ.)
  4. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
  5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  6. มหาวิทยาลัยนเรศวร
  7. สถาบันวิทยสิริเมธี
  8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  9. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  10. มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  11. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  12. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  13. บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน)
  14. บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
  15. บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน)
  16. บริษัท ไบโอ บัดดี้ จำกัด
  17. บริษัท เทสท์บัด จำกัด

เพื่อดำเนินการผลักดันและขับเคลื่อนนวัตกรรม อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ในประเทศ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ บีซีจี

ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ได้มีหน่วยงานสนใจเข้าร่วมเป็นภาคีเพิ่มอีก 5 หน่วยงาน ได้แก่

  1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
  2. มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBio)
  4. บริษัท โกลบอล อาร์แอนดี จำกัด
  5. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

สมาชิก

ปัจจุบันภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์แห่งประเทศไทยมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 22 หน่วยงาน ได้แก่

วิสัยทัศน์

ชีววิทยาสังเคราะห์สร้างโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานโมเดล
เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green: BCG)

เป้าหมาย

เป้าหมายในภาพรวม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะสั้น (1–3 ปี)
เป็นการวางรากฐานให้เข้มแข็ง เพื่อสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building) ด้านการพัฒนาชีววิทยาสังเคราะห์ สร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือ (Collaboration Platform) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และแสดงตัวอย่างการนำชีววิทยาสังเคราะห์ไปใช้ประโยชน์จริงในเชิงพานิชย์
ระยะกลาง (3–5 ปี)
เป็นการพัฒนาและการขยายขนาด (Scale-up) ของกระบวนการผลิตจากห้องปฏิบัติการสู่โรงงานต้นแบบ (Pilot plant) และไปสู่โรงงานผลิต และการสร้างมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์
ระยะยาว (5 ปีขึ้นไป)
มุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้น (Deep-tech enterprises) บนฐานของชีววิทยาสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) เพิ่มการจ้างงาน

หมุดหมาย

เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงได้กำหนดหมุดหมายสำคัญไว้ดังนี้

  1. จัดตั้งสถาบันวิชาการด้านชีววิทยาสังเคราะห์ (SynBio Academy) เพื่อเป็นแพลตฟอร์มกลางในการผลิตและพัฒนาบุคลากร รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านชีววิทยาสังเคราะห์ ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงด้านกฎหมายและกฎระเบียบ ผ่านหลักสูตรศึกษาหรือหลักสูตรฝึกอบรมโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา เอกชน และสถาบันวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ
  2. จัดตั้ง National Biofoundry เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยไปจนถึงขั้นการขยายขนาดการผลิต และเข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตรด้าน Biofoundry ระดับโลก (Global Biofoundries Alliance) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านชีววิทยาสังเคราะห์ในระดับโลก
  3. ส่งเสริมให้เกิดหน่วยงานรับจ้างพัฒนาและผลิตระดับอุตสาหกรรม (Contract Development and Manufacturing Organization : CDMO) ในประเทศ เพื่อเป็นตัวกลางในเชื่อมโยงจากการวิจัยไปสู่กระบวนการผลิตเชิงพานิชย์
  4. ปรับปรุงระเบียบ ข้อกำหนด กฎหมาย สำคัญ โดยเฉพาะกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ พระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งควรสอดคล้องกับกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบระหว่างประเทศ ยกตัวอย่าง The Cartagena Protocol on Biosafety to the Convention on Biological Diversity, the Conventional on Biological Diversity (CBD) and the WTO TRIPS Agreement
  5. ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Research) ด้านชีววิทยาสังเคราะห์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต

SynBio Roadmap

หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อพัฒนาชีววิทยาสังเคราะห์ของประเทศ จึงได้ร่วมกันจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาระบบนิเวศชีววิทยาสังเคราะห์ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 – 2573 ขึ้น